เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับปลาโลมา

ปลาโลมาถือว่าเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์หลายคนชื่นชอบมากไม่ว่าจะเป็น รูปร่างท่าทางที่ดูเป็นมิตร อีกทั้งนิสัยใจคอของมันก็ดูจะเข้ากับมนุษย์ได้อีกด้วย อีกทั้งความฉลาดก็ล้ำเลิศ เลยไม่แปลกปลาโลมาจะกลายเป็นตัวเด่นของสวนสัตว์หลายแห่งด้วยกัน วันนี้เราจะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับปลาโลมา มาเล่าให้ฟังกัน

ปลาโลมาไม่ใช่ปลา

ความเข้าใจผิดอย่างแรกเกี่ยวกับ ปลาโลมา นั่นคือ ปลาโลมา ไม่ใช่ปลามันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์หนึ่งไม่แตกต่างจากคน สุนัข แมว หมีและตัวอื่นๆ แต่มันแตกต่างตรงที่ว่ามันอาศัยอยู่ในน้ำ มีการพัฒนาการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เหมือนกับ ปลาวาฬ นั่นเอง ส่วนหนึ่งที่คิดกันมาผิดเนื่องจากมันชื่อนำหน้าว่า ปลา นั่นแหละ

โลมานอนอย่างไร

หลายคนอาจจะสงสัยว่า โลมานั้นมีการนอนหรือไม่ แล้วมันนอนอย่างไร คำถามแรกโลมานอนเหมือนกันแต่ว่ามันไม่ได้นอนติดต่อกันเป็นเวลานานเหมือนกับตัวอื่น โลมาจะนอนเป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้นเอง ท่านอนของโลมาก็แปลกนะมันจะนอนด้วยการคู้ตัวเอาศีรษะและหางจมน้ำไว้ แล้วปล่อยตัวลอยไปตามน้ำ หรือ บางตัวจะใช้การกบดานใต้น้ำเพื่อพักผ่อนก็มี

อวัยวะสำคัญของโลมา

สัตว์แต่ละชนิดต่างก็มีอวัยวะเป็นจุดเด่นของตัวเอง โลมา เองก็มีอวัยวะบางอย่างที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นดวงตาของโลมา แม้ว่าจะดูเล็กแต่บอกเลยว่าสายตาของมันนั้นคมมาก มันสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งบนบกและในน้ำ หูของปลาโลมานั้นไม่ได้มีแค่หน้าที่ในการได้ยินเท่านั้น ต้องบอกว่าหูของมันนั้นเป็นตัวรับสัญญาณมากกว่า เนื่องจากโลมาใช้เสียงกับคลื่นสัญญาณในการสื่อสารและสำรวจพื้นที่รอบตัว โดยมีหูเป็นตัวรับสัญญาณและแปลงข้อมูลอีกจุดหนึ่งรู้หรือไม่ว่า โลมา ไม่มีอวัยวะสำหรับดมกลิ่นนะ

สัญญาณเสียง

ความมหัศจรรย์ของโลมาอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ โลมา มีความสามารถในการใช้คลื่นเสียงเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ ยกตัวอย่างเช่น โลมาจะใช้คลื่นเสียงสัญญาณเพื่อสำรวจว่าพื้นที่ใกล้เคียงนั้นมีอะไร หากมีเสียงสะท้อนกลับมานั่นแสดงว่าข้างหน้า ที่ยังมองไม่เห็นอาจจะมีสิ่งกีดขวางอยู่ทำให้มันต้องระวังตัวเป็นพิเศษเป็นต้น นอกจากนั้นระบบนี้ยังเป็นการใช้เสียงเพื่อสื่อสารกันภายในกลุ่มของโลมาด้วยกันอีกด้วย

ครีบข้าง

แม้ว่าโลมาจะไม่ได้เป็นปลา ไม่ได้มีเกล็ด ไม่ได้มีหางแบบปลาสายพันธุ์อื่น แต่ความสามารถการว่ายน้ำของมันก็ถือว่าไม่แพ้ใครเหมือนกัน บางตัวสามารถทำความเร็วได้ถึง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อวัยวะน่าสนใจคือ ครีบข้าง นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ามันถูกพัฒนามาจากขาหน้า แม้จะแบนแต่ด้านในกลับมีอวัยวะที่ดูเหมือนกระดูกนิ้วมือด้านใน ครีบข้างเปรียบเสมือนหางเสือในการบังคับทิศทางการว่ายของโลมาด้วย เป็นอย่างไรบ้างน่าอัศจรรย์จริงเจ้าตัวนี้

อ้างอิง : http://www.wdcs-na.org


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การสร้างตัวอักษรด้วย Illustrator CS6

การสร้างตัวอักษรด้วย  Illustrator CS6 &...